

การปลูกรากเทียมหลายคนคิดว่ามีความยุ่งยาก แต่จริงๆแล้วไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด ซึ่งขั้นตอนสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ไม่ยากครับ
ขั้นที่ 1 เมื่อเรามีฟันที่หายไปและต้องการจะใส่รากเทียมทดแทน เราควรเข้ามาตรวจกับทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์ก่อนเพื่อที่จะทำการตรวจช่องปาก ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปาก ถ่ายภาพเอกซ์เรย์เบื้องต้นแบบ Panoramic จากนั้นทำการพิมพ์ปากเพื่อทำ Surgical Stent (บางกรณีอาจจะต้องถ่ายภาพแบบ CT เพื่อให้ได้รายละเอียดแบบ 3 มิติ) เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว จึงจะนัดวันผ่าตัดฝังรากเทียม
ขั้นที่ 2 ทำการฝังรากเทียม จากข้อมูลที่ได้จาก
ขั้นที่ 3 เมื่อรากเทียมยึดกับกระดูกดีแล้ว (ดูจากภาพเอกซเรย์) ก็จะมาทำการสร้างเหงือก โดยทันตแพทย์จะเปิดเหงือกเพื่อใส่ตัวสร้างเหงือก (healing abutment) ให้เหงือกมีลักษณะที่เหมาะสม เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์
ขั้นที่ 4 เมื่อเหงือกสมบูรณ์ดีแล้ว จะทำการพิมพ์ปากและส่งไปเลือกเดือยยึดฟัน (Abutment) และ
ขั้นที่ 5 เมื่อใช้งานไป ทันตแพทย์จะนัดมาตรวจเป็นระยะๆ เพื่อให้มั่นใจว่ารากเทียมสามารถใช้งานได้ดีไม่มีปัญหา ที่ 1 สัปดาห์ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปีตามลำดับ จากนั้นก็มาตรวจทุกๆปี ตามการตรวจฟันทั่วไป
จากกระบวนการทั้งหมดจะเห็นได้ว่าถ้าเราเข้าใจในกระบวนการทั้งหมด ก็จะเข้าใจได้เลยว่าในแต่ละขั้นตอนก็มีเหตุผลในตัวมันเองและเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่เราจะได้ใช้งานรากเทียมนั้นไปอีกนาน กระบวนการต่างๆที่ว่านั้นก็ไม่ได้เป็นขั้นตอนที่ยุ่ง